วันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. และประธานสายงานส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม ร่วมงานสัมมนา ZERO CARBON วิกฤต-โอกาสไทยในเวทีโลก ในหัวข้อ “ZERO CARBON : วิกฤต-โอกาสไทย” ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ
โดยงานสัมมนาได้รับเกียรติจาก คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Thailand’s Strategy : การค้าสู่ความยั่งยืนในเวทีโลก” และมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแสวนา หัวข้อ “ZERO CARBON : วิกฤต-โอกาสไทย” ดังนี้
– คุณนาถฤดี โฆสิตาภัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ (บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม)
– คุณฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (บมจ. สิงห์ เอสเตท)
– คุณภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบสายบัญชีและการเงิน (บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์)
– คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร (เครือ
เจริญโภคภัณฑ์)
ประธาน ส.อ.ท. ได้นำเสนอนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อพลิกวิกฤตในครั้งนี้ด้วยการขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ให้ก้าวเข้าสู่เวทีสากลและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในระดับโลก เนื่องจากนโยบาย BCG ทำให้เกิดการลดใช้ทรัพยากร ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงทำให้เกิดธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ ได้จัดทำโครงการ SAI (Smart in the City) ในพื้นที่กรุงเทพฯ และมีแผนขยายไปยัง 5 ภาค และแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นทางเลือกให้กับภาคการเกษตร และยังส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่เป็นปัญหาระดับโลก และจัดตั้งหน่วยงาน สถาบันเปลี่ยนแปลงสภาพภมูิอากาศ (สถาบันคาร์บอนเครดิต) เพื่อผลักดันภารกิจ Climate Change ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการสร้างตลาดกลางของชาติในการแลกเปลี่ยน ซื้อ-ขาย กรีนคาร์บอน พลังงานสะอาด ทำการรับรองมาตรฐานสากลทางด้านกรีนคาร์บอน โดยให้กระบวนการที่กระทำทั้งหมดเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ เพื่อเป็นการช่วยเหลืออุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้ง 45 กลุ่มฯ ของ ส.อ.ท. จะต้องปรับตัว เตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถส่งออกได้
สำหรับผู้เข้าร่วมเสวนาอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เล็งเห็นถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่จะส่งกระทบทั่วโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึงทำให้แต่ละภาคส่วน ควรหันกลับมามอง และให้ความสำคัญกับนโยบาย Net Zero หรือ Carbon neutral ให้มากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกจากอุตสาหกรรมต่างๆ และอุตสาหกรรมเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเหล่านี้ได้รับผลกระทบแล้วโดยไม่ต้องรอนโยบายในระดับนานาประเทศบังคับใช้ ซึ่งเกิดจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเริ่มให้ความสำคัญ และบังคับให้บริษัทที่อยู่ในฐานการผลิตต่างๆ รวมถึง Supply Chain ต้องลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนและเพิ่มการใช้พลังงานสะอาด แต่ในทางตรงกันข้าม สำหรับนโยบายภาครัฐ เช่น มาตรการทางการค้า Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ซึ่งเป็นมาตรการด้านคาร์บอนของ EU ที่มีแนวคิดในการปรับราคาของสินค้านำเข้าให้สะท้อนถึงปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่แท้จริงในกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาของ EU จะพบว่ามีอุตสาหกรรมที่มีปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของก๊าซเรือนกระจกสูง