จากข้อมูลที่รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยประจำปี 2565 ในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 79,251.16 ล้านบาท โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7.42% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 โดยคิดเป็นมูลค่า 1.6% จากมูลค่าการส่งออกรวม ของประเทศไทย
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2022 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5-6% ในครึ่งปีหลัง เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนด้านการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและบริการทั่วโลก ที่เริ่มขยายตัวจากการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID-19 ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังคงเป็นสินค้าประเภท “บรรจุภัณฑ์พลาสติก” โดยมีคู่ค้าสำคัญของไทยคือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าปัจจัยหลัก ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ สภาวะการส่งออกสินค้าพลาสติกของไทย มี 3 ประเด็น ได้แก่

1) ต้นทุนการผลิตพลาสติกที่มากขึ้น อาทิ ราคาวัตถุดิบเม็ดพลาสติก และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ทำให้สินค้าพลาสติกต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น อันมีต้นเหตุเนื่องมาจาก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น

2) การชะลอตัวด้านเศรษฐกิจ และภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ในประเทศคู่ค้าของไทย

3) มาตรการการลดการใช้พลาสติกในแต่ละประเทศ ซึ่งอาจทำให้กำลังซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกในตลาดโลกลดลง เช่น ในอินเดีย ที่ต้องการขอใบรับรองจาก สำนักงานกำหนดมาตรฐานสินค้าของอินเดีย (Bureau of Indian Standard – BIS) ที่ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูง เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานรับรอง (Certification Body) ดังกล่าวในประเทศไทย ทำให้ผู้ผลิตสินค้าพลาสติก มีภาระต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น และยังเสียโอกาสในการส่งออกสินค้าพลาสติกเข้าสู่ตลาดอินเดียด้วย

ปัจจุบัน ตลาดส่งออกสินค้าพลาสติกหลักของไทย คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และจีน เมื่อรวมมูลค่าการส่งออกของประเทศเหล่านี้แล้ว จะคิดเป็นสัดส่วนถึง 50.37% เลยทีเดียว ทั้งนี้ ในส่วนของตลาดการส่งออกสินค้าพลาสติก ที่มีอัตราการขยายตัวสูง เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1. มาเลเซีย (+26.76%) 2. สหรัฐเมริกา (+16.66%) และ 3. ออสเตรเลีย (+13.09%)
ที่มา: ditp.go.th ข้อมูลพื้นฐานสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติก และ consumeraffairs.nic.in

#PlasticIndustryClub #ThaiPlasticIndustry #PlasticforExport #ThaiPlastic #ThaiExpor

Close Bitnami banner
Bitnami